“เศรษฐกิจพอเพียง : ร่วมเรียนรู้ สานข่าย ขยายผล”
ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ถึงวันจันทร์ที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
ณ สำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ

เนื่องในปี ๒๕๔๙ นี้เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับองค์กรสำคัญ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม      มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มูลนิธิพระดาบส มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) และเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก วิทยาลัยการจัดการทางสังคม และโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  ได้เห็นความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเป็นหลักการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ จึงควรได้มีการแลกเปลี่ยนเพื่อยกระดับความรู้และเผยแพร่สู่สาธารณชนในวงกว้าง โดยที่ สกว. และองค์กรร่วมดังกล่าวได้ให้การสนับสนุนงานวิจัยและงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาอย่างต่อเนื่อง จึงเห็นเป็นโอกาสดีที่จะจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่และขยายผลการวิจัยให้เกิดการใช้ประโยชน์เพื่อขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในวงการต่างๆ ให้กว้างขวางได้มากยิ่งขึ้น และเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สาธารณชนในการดำเนินชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในปี ๒๕๔๙
  • เพื่อแลกเปลี่ยน ยกระดับความรู้ และเผยแพร่ผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  สู่สาธารณชนในวงกว้าง
  • สนับสนุนให้เกิดการนำความรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในวงการต่างๆ อาทิ การศึกษา ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัด ภาคธุรกิจเอกชน เป็นต้น
  • เพื่อจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่นักวิชาการ ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา
    เด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้เข้าใจการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

ประโยชน์ที่จะได้รับ

  • สาธารณชนได้เรียนรู้และมีความเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • นักวิชาการ ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา เด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป
    ได้รับความรู้และได้เรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และนำไปใช้ในการดำรงชีวิต
  • เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน

 

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักวิชาการ และคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา (เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานวิจัย และสร้างองค์ความรู้ หลักสูตรการสอนเศรษฐกิจพอเพียง ในสถาบันอุดมศึกษา)
  • โรงเรียน – ครู นักเรียน (เพื่อนำเสนอตัวอย่างที่ปฏิบัติได้จริงในโรงเรียน และปลูกฝังแนวคิดและแนวปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่เด็กและเยาวชนที่จะเป็นอนาคตของสังคม)
  • หน่วยนโยบายที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย  เป็นต้น
  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)
  • กลุ่มชุมชนฐานราก

องค์กรร่วมจัดงาน

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
มูลนิธิพระดาบส
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
วิทยาลัยการจัดการทางสังคม
มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) และเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก

นิทรรศการ
ประกอบด้วยโซนต่างๆ  ๗ โซน ดังนี้

  • เศรษฐกิจพอเพียง : ร่วมเรียนรู้ สานข่าย ขยายผล : นำเสนอปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • เกษตร : นำเสนอการทำการเกษตรอย่างรู้เท่าทันตลาด มีข้อมูล/ภูมิคุ้มกัน สร้างสุขภาวะที่ดี
  • กินอยู่พอเพียง : นำเสนอวิธีคิดของชุมชน(กลุ่ม) ในการสร้างความมั่นคง /หลักประกันในชีวิต การดูแลสุขภาพบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • อุตสาหกรรม-ธุรกิจ : นำเสนอตัวอย่างการผลิต/ธุรกิจที่ดำเนินงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
  • บูรณาการนำร่อง/พื้นที่ : นำเสนอตัวอย่างตำบล,จังหวัดที่มีการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการพัฒนาพื้นที่
  • ความรู้ ภูมิปัญญา : นำเสนอความรู้ที่สร้างสำนึก/ความภูมิใจ อันนำไปสู่การพัฒนาชุมชนบนฐานทุนเดิมของตนเอง
  • วิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์ : นำเสนอเครื่องมือ,กลไกในการจัดการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับวิสาหกิจชุมชน

ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.trf.or.th , E-mail : trfpg4@trf.or.th , โทร. ๐๒-๒๗๘-๘๒๐๐ ต่อ ๘๒๓๕, ๘๒๓๖
หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าที่พักสามารถขออนุมัติเบิกจ่ายได้จากต้นสังกัด