Moderation Society

Moderation Society เรียกย่อๆ ว่า MO-SO (โมโซ) คือ “สังคมพอประมาณ” หรือ สังคมชั้นกลาง จุดกำเนิดของสังคมพอประมาณ (Moderation Society: MOSO) หรือ โมโซไซตี้ เริ่มต้นเมื่อปี 2548 จากงานวิจัยของสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้การนำของ ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ...

mosociety

WHAT'S MOSO

  • - โมโซไซตี้คืออะไร

    โมโซ คือ สังคมอันพึงปรารถนาที่ชาวโมโซทุกคนจะร่วมกันสร้างขึ้น เพื่อให้เป็นสังคมที่ประกอบไปด้วยความจริง ความดีงาม และความสุข

  • - ทำไมต้องเป็น"โมโซ"

    “โมโซ” มาจาก Moderation Society หมายถึง "สังคมพอประมาณ" เป็นขบวนการ เคลื่อนไหวทางสังคมที่ต้องการให้คนในสังคมเกิดความตระหนักในการใช้ชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการดำเนินชีวิตในทางสายกลาง ที่แตกต่างจากคน “ไฮโซ” และ “โลโซ” โดยไม่สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง

  • - แนวคิดโมโซไซตี้ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

    แนวคิดโมโซไซตี้มาจากการสำรวจทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาและคนรุ่นใหม่ โดยมีโจทย์ว่า หากจะร่วมกันสร้างสังคมที่มีแนวปฏิบัติสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะมีรูปแบบในการขับเคลื่อนอย่างไรที่เยาวชนและคนรุ่นใหม่ต้องการจะเห็น ซึ่งผลการสำรวจเผยให้เห็นโครงแบบที่เปิดกว้าง มีอิสระและเสรีภาพในการเลือกที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก โดยมีพี่เลี้ยงในกลุ่มคอยให้คำแนะนำ มีสมาชิกในกลุ่มที่คอยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าร่วมกัน

  • - สังคมของชาวโมโซ มีหน้าตาเป็นอย่างไร

    อย่าเข้าใจผิดว่าชาวโมโซจะแยกตัวไปสร้างสังคมใหม่ ไม่ใช่อย่างนั้น เพียงแต่ชาวโมโซเห็นว่า สังคมปัจจุบันกำลังจะเข้าสู่สภาพที่ไม่น่าพึงปรารถนา ก็เลยมีภารกิจร่วมกันที่จะช่วยกันเปลี่ยนทิศทางของสังคมให้มีความน่าอยู่ขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ กลุ่มโมโซจะมีอิสระในการดำเนินกิจกรรมของตนเอง ชาวโมโซในแต่ละพื้นที่จึงสามารถร่วมกันคิดออกแบบกิจกรรมเพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นของตนเอง ตลอดจนการเปิดกว้างที่จะเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมของหน่วยงานอื่นที่มีความสอดคล้องกับหลักการของชาวโมโซ และเมื่อเวลาผ่านไป กิจกรรมต่างๆ ของชาวโมโซก็จะมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างเป็นธรรมชาติ โดยปราศจากการจัดตั้งใดๆ

  • - ชาวโมโซมีบุคลิกประจำตัวอย่างไร

    เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบัน มีสิ่งยั่วยุทางวัตถุมากมาย ที่ทำให้เกิดการแข่งขันไปในทางอยากมี อยากได้ อยากเป็น เน้นบริโภคนิยม ด้วยเชื่อว่า ยิ่งได้บริโภคมาก ยิ่งมีความสุขมาก ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด อันที่จริงแล้ว ความสุขของชาวโมโซ มิได้เกิดจากการซื้อของกินของใช้ราคาแพงๆ มาบริโภค หรือต้องจับจ่ายใช้สอยให้มากๆ แต่ชาวโมโซเชื่อว่า ความสุขที่ยั่งยืน เกิดจากการบริโภคอย่างเหมาะสม ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป เป็นไปตามอัตภาพ และความสุขของชาวโมโซ ยังเกิดจากการที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น การเอื้อเฟื้อแบ่งปันให้แก่คนรอบข้าง รวมถึงเป็นความสุขที่เกิดจากการทำงานในหน้าที่อย่างบริบูรณ์ เป็นความสุขที่เกิดจากจากการเรียนอย่างพากเพียรอุตสาหะอีกด้วย

  • - สนใจเป็นชาวโมโซ จะต้องไปสมัครเป็นสมาชิกที่ไหน อย่างไร

    โมโซไซตี้ ถูกออกแบบให้เป็นเครือข่ายเปิด ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีการตั้งองค์กรมาควบคุมดูแล ไม่มีคณะกรรมการผู้มีอำนาจหน้าที่ในเครือข่าย หากผู้ใดมีวิถีปฏิบัติที่อยู่ในแนวทางสายกลาง ไม่สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง ก็สามารถเรียกตัวเองว่าเป็น “ชาวโมโซ” ได้โดยไม่ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับหน่วยงานหรือองค์กรใดๆ ชาวโมโซมีคติพจน์ประจำใจ ที่จำง่ายๆ คือ “เน้นสติ เหนือสตางค์” ซึ่งหมายถึง การมีสติในการใช้จ่ายเงิน และการใช้ชีวิต

  • - เริ่มต้นเป็นชาวโมโซ ต้องทำตัวอย่างไรบ้าง

    ถ้ายังอยู่ในวัยเรียน การทำตัวเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ตั้งใจเรียนหนังสือ ช่วยเหลืองานบ้าน และรู้จักประหยัด ก็ถือว่าได้ปฏิบัติตนเป็นส่วนหนึ่งของชาวโมโซแล้ว ส่วนผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน การเป็นส่วนหนึ่งของชาวโมโซ คือ การมีความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน รู้จักการใช้จ่ายเงินอย่างเหมาะสม ไม่โลภ และไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น รวมไปถึงการทำตัวเป็นพลเมืองดีของสังคมช่วยเหลือและแบ่งปันกับผู้ที่ด้อยโอกาสกว่า

  • - จะมีวิธีในการชักชวนให้ผู้อื่น มาเป็นชาวโมโซได้ด้วยหรือไม่

    การเป็นชาวโมโซที่ดีควรเริ่มต้นจากตัวเราเองก่อนเป็นอันดับแรก ไม่ต้องมัวรอคนอื่น ทำตัวให้เป็นแบบอย่าง แล้วจึงไปชักชวนคนอื่น ขยายวงไปเรื่อยๆ โดยตัวอย่างกิจกรรมของชาวโมโซที่สามารถเชิญชวนให้ผู้อื่นเข้ามาร่วมได้โดยสมัครใจ มีอย่างเช่น การสอนให้รู้จักบริหารค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันด้วยบัญชีแก้มลิง (ดูรายละเอียดที่เว็บ www.kaemling.com) หรือการบริจาคสิ่งของที่มิได้ใช้แล้วให้แก่ชาวโมโซท่านอื่นได้ใช้ประโยชน์ ดีกว่าทิ้งให้เสื่อมโทรมหรือเก็บไว้เฉยๆ โดยเปล่าประโยชน์ (ดูรายละเอียดที่เว็บ www.bangkokfreecycle.com)

  • - สนใจนำแนวคิดของโมโซไซตี้ ไปรณรงค์ในหน่วยงานของตนเองบ้าง จะทำได้หรือไม่

    ด้วยความที่เป็นเครือข่ายเปิดที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ หน่วยงานและองค์กรที่ขับเคลื่อนกิจกรรมตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำเอาแนวคิดโมโซไซตี้ ไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ที่มิใช่การแสวงหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ โดยมิต้องขอนุญาตใดๆ โดยในปัจจุบัน มีผู้สนใจทั้งในระดับองค์กรและในระดับบุคคลได้นำแนวคิดโมโซไซตี้ไปใช้ในการรณรงค์หรือการขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่มีความสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแล้วกว่า 30 องค์กร และมีชาวโมโซที่แสดงตนด้วยการลงทะเบียนในเครือข่ายอยู่จำนวนราว 5,000 คน

  • - จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมต่างๆ ของชาวโมโซ ได้ที่ไหนบ้าง

    ชาวโมโซสามารถ Update ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมต่างๆ ได้ที่เว็บไซต์ www.mosociety.com

 
mosociety

Update Moso's Activities

mosociety

Update News

 
 
mosociety

Categories

mosociety

VIDEO NEWS

mosociety

Moderation Society

RT @pipatlive: @abovetweet CSR กับ Sustainability ต่างกันอย่างไร (คลิกดูคำตอบที่ In reply to abovetweet)
13 ปี ago
ชมเรื่องราว MOSO "เน้นสติ-เหนือสตางค์" ในฟ้าเมืองไทย http://bit.ly/3lzvea (ตอน 1) http://bit.ly/U5LdW (ตอน 2)
14 ปี ago
I uploaded a YouTube video -- FahMuangThai 18oct09 part2 http://bit.ly/Lik4s
14 ปี ago
I uploaded a YouTube video -- FahMuangThai 18oct09 part1 http://bit.ly/v3tax
14 ปี ago
mosociety

Kaemling