เครือข่ายชาวโมโซ
ปัจจุบัน มีผู้สนใจทั้งในระดับองค์กรและในระดับบุคคลที่ได้นำแนวคิดโมโซไซตี้ไปใช้ในการรณรงค์หรือการขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่มีความสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกว่า 30 องค์กร และชาวโมโซที่แสดงตนด้วยการลงทะเบียนในเครือข่ายมีจำนวนราว 5,000 คน ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจในเครือข่ายสังคมพอประมาณ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.mosociety.com
ด้วยความที่เป็นเครือข่ายเปิด หน่วยงานและองค์กรที่ขับเคลื่อนกิจกรรมตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงสามารถนำเอาแนวคิดสังคมพอประมาณ หรือ โมโซไซตี้ ไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ที่มิใช่การแสวงหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และจัดเป็นกิจกรรมที่อยู่ภายใต้การดูแลรับผิดชอบของหน่วยงานและองค์กรนั้นๆ โดยตรง มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ก่อตั้งหรือผู้ริเริ่มเครือข่ายแต่อย่างใด
ตัวอย่างของโครงการที่นำเอาแนวคิดโมโซไซตี้ไปใช้ในการรณรงค์ผ่านทางกิจกรรมของหน่วยงาน ได้แก่
– โครงการจัดประชุมทางวิชาการและการจัดนิทรรศการเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง: หนทางส่งเสริมและพัฒนาน้อมนำไปสู่การปฏิบัติ” มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
– กิจกรรมของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานศึกษาต้นแบบโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
– นิทรรศการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องการดำรงชีวิตอย่างพอเพียงในงาน “1,392 ปี๋สลีเวียงสังฆะเติ๋น” ซึ่งเป็นงานประจำปีของอำเภอเถิน จ.ลำปาง
– โครงการกองทุนอาสาพัฒนาชนบท โรงเรียนเย็นศิระบ้านหมากแข้ง (หมันขาว) ต.กกสะทอน อ.ด่านซ้าย จ.เลย
– โครงการสัมมนาผู้นำเรื่อง “พลังผู้นำ:ทำอย่างไรให้ได้สมาชิกสองล้านคน” ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย
– กิจกรรมในงาน “เกษตรศาสตร์นำไทย ก้าวไกลอย่างพอเพียง” มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
– โครงการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราช เหล่ากาชาดนครปฐมร่วมใจ ห่วงใย ผู้สูงอายุ สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดนครปฐม
– กิจกรรมให้ความรู้เศรษฐกิจพอเพียงแก่ครู ศรช. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครปฐม
– โครงการประชุมวิชาการและนิทรรศการ เศรษฐกิจพอเพียง: ร่วมเรียนรู้ สานข่าย ขยายผล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ
– กิจกรรมสำหรับเยาวชนในโครงการคิดอย่างยั่งยืน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)
ดูหน่วยงานและองค์กรที่รับสายข้อมือโมโซไปใช้ในการรณรงค์ผ่านทางกิจกรรมของหน่วยงาน